วิชาหนึ่งที่เรามักจะคุ้นหูในตอนเรียนมัธยมศึกษาคงหนีไม่พ้นเรื่องวิชาโครงงาน เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาความคิดนอกบทเรียนให้มากขึ้น โดยเฉพาะวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ เพราะสมัยนี้เป็นยุคของเทคโนโลยี ซึ่งมีมากมายหลายแบบแตกแขนงออกไป จึงมีผลทำให้เด็กๆมีความถนัดและสนใจในด้านนี้การมากขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งยังได้รับความรู้ใหม่ๆมากมาย โดยประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์ได้แตกแขนงออกเป็นทั้งหมด 5 รูปแบบหลักๆ ดังนี้

- โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media Development) คือ การดัดแปลงความรู้ที่อยู่ในหนังสือให้ออกมาในรูปแบบของวิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือ ห้องสมุดอิเลคทรอนิกส์ โดยใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการผลิตสิ่งเหล่านี้ เช่น สื่อมัลติมีเดียเรื่องระบบหมุนเวียนโลหิตและเส้นเลือดสำคัญของร่างกาย
- โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application) คือ การผลิต สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ หรือ พัฒนาจากของเดิม โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างขึ้นมา ให้สามารถใช้งานในชีวิตประจำวันได้จริงๆ โดยอาจมีการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลก่อน เช่น การสร้างโปรแกรมตรวจสอบข้อมูลโทรศัพท์หาย โปรแกรมตรวจสอบสภาพจราจร
- โครงงานพัฒนาเกม (Game Development) คือโครงการที่มีเกมเป็นตัวดำเนินเรื่อง แต่จะเน้นไปในทางเกมที่สอดแทรกความรู้ไว้ภายใน มีการฝึกคิดฝึกทำ ซึ่งเด็กส่วนใหญ่มักจะชอบออกแบบโครงการประเภทนี้มากที่สุด เช่น โครงงานเกมซุโดกุ เกมกาแลคซี่ให้โชค
- โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development) คือ การออกแบบซอฟแวร์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับอาชีพหรือสิ่งของต่างๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เช่น โปรแกรมผสมสีและออกแบบบ้าน หรือโปรแกรม Doramon Browser สำหรับผู้พิการทางมือ
- โครงงานจำลองทฤษฏี (Theory Simulation) คือ การจำลองเหตุการณ์หรือทฤษฏีต่างๆอธิบายเป็นภาพโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้าง โดยต้องอาศัยความรู้เฉพาะทาง เช่น การจำลองวิถีกระสุนที่ยิงจากตึกสูง หรือ การจำลองทฤษฏีรวมโมเลกุล
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น